การทดสอบความชำนาญ
สำนักยาและวัตถุเสพติด
Proficiency Testing, Bureau of Drug and Narcotic
icon-user
PT Register

News & KM / ข่าวสารและความรู้

Methods for In Vitro Evaluating Antimicrobial Activity

          ในปัจจุบันมีการวิจัยและพัฒนายาต้านจุลชีพจากแหล่งต่างๆ เพิ่มมากขึ้น การตรวจสอบคุณภาพของยาต้านจุลชีพด้วยวิธี Bioassay ได้แก่ disk-diffusion, well diffusion และ broth หรือ agar dilution ก็ยังเป็นวิธีที่นิยม ส่วนวิธีอื่นๆที่ใช้กัน ได้แก่ flow cytofluorometric และ bioluminescent  ซึ่งแต่ละวิธีจะมีข้อดี และข้อเสียแตกต่างกัน

Diffusion method ข้อดีของวิธีนี้ คือ ง่าย ประหยัด และสามารถตรวจตัวอย่างได้คราวละจำนวนมาก ซึ่งได้แก่ Agar disk-diffusion, Antimicrobial gradient method (Etest),  Agar well diffusion method,  Agar plug diffusion method, Cross streak method และ Poisoned food method.  Agar disk-diffusion จัดเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ประเมินผลจาก inhibition zone นอกจากนี้ Antimicrobial gradient method มักใช้หาค่า Minimum Inhibitory Concentration (MIC) 

                                                  

 รูปที่.1 Agar diffusion methods: (A) Agar disk-diffusion method, (B) Agar well diffusion method, and (C) Agar plug diffusion method

Thin-layer chromatography (TLC)–bioautography ได้แก่ Agar diffusion, Direct bioautography และ Agar overlay bioassay เป็นการผสมผสานระหว่าง TLC, biological และ chemical test มักใช้ตรวจสอบฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดจากพืช และวิธีที่นิยมใช้ คือ Direct bioautography เนื่องจากเร็ว และสามารถตรวจตัวอย่างได้คราวละจำนวนมาก Dilution methods  ได้แก่ Broth dilution method และ Agar dilution method เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่ใช้ในการหาค่า MIC

                                                      

รูปที่.2 Broth microdilution method of plant extract against B. subtilis using resazurin as growth indicator.           

Time-kill test (time-kill curve) เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะหรือสารต่างๆ ในการฆ่าจุลชีพ โดยใช้กราฟ semilog ที่มีแกน x คือระยะเวลา แกน y คือ จำนวน viable cells count (CFU/ml).

ATP bioluminescence assay เป็นการตรวจวัด adenosine triphosphate (ATP) ที่จุลินทรีย์สร้างขึ้นมา และตรวจวัดแสงจากการเกิด oxyluciferin นับเป็นวิธีที่ตรวจสอบได้อย่างรวดเร็ว

Flow cytofluorometric method สามารถตรวจสอบได้ทั้งเซลที่มีชีวิต และเซลที่ถูกทำลายไป โดยการย้อมด้วยสารเรืองแสง คือ propidium iodide (PI) และสามารถตรวจสอบได้รวดเร็วภายใน 2-6 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้ห้องแลปต้องมีเครื่อง Flow cytometer.

 

(Reference: Journal of Pharmaceutical Analysis, 6(2016)71–79)

 

ภ.ญ. วลัยลักษณ์ เมธาภัทร

ธันวาคม 2559