ข่าวสารประชาสัมพันธ์

กรมวิทย์ฯ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้จัดทำตำรามาตรฐานยาสมุนไพร เพื่อส่งเสริมยาสมุนไพร
  • 15.11.2017
  • 28,383
กรมวิทย์ฯ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้จัดทำตำรามาตรฐานยาสมุนไพร เพื่อส่งเสริมยาสมุนไพร

เมื่อวันที่ 19 ต.ค.60 ที่ห้องประชุมกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศ.คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานในการแถลงข่าว เปิดตัวตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย ฉบับปี พ.ศ. 2560 (Thai Herbal Pharmacopoeia 2017) ว่า ปัจจุบันกระแสความนิยมผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีมากขึ้น โดยเฉพาะ การใช้ยาสมุนไพรพบว่ามีการใช้ยาแผนไทยที่บรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติมูลค่าปีละกว่า 14,000 ล้านบาท รัฐบาลจึงได้ให้ความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยให้มีคุณภาพภายใต้โมเดลประเทศไทย 4.0 โดยกำหนดแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทยฉบับแรก พ.ศ. 2560-2564 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสมุนไพรไทยทั้งระบบ อย่างยั่งยืน ให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข โดย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ริเริ่มพัฒนา และจัดทำตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (Thai Herbal Pharmacopoeia, THP) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เพื่อใช้เป็นตำรายาอ้างอิงทางกฎหมาย ทั้งผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมคุณภาพยาสมุนไพรไทยให้ได้มาตรฐานสากลทั้งการผลิตยา เพื่อใช้ในประเทศและเพิ่มมูลค่าการส่งออก 

 

การจัดทำตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทยมีขั้นตอน รายละเอียด และความยาก ต้องใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 2 ปีต่อสมุนไพร 1 ชนิด ซึ่งจนถึงปี พ.ศ.2559 สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จรวม 62 ชนิด แต่ในปี พ.ศ. 2560 ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ที่ทรงงานหนักตลอด 70 ปีแห่งการครองราชย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จึงได้เร่งจัดทำตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย ฉบับปี พ.ศ. 2560 (Thai Herbal Pharmacopoeia 2017) ขึ้น เป็นฉบับรวมเล่ม โดยมีมาตรฐานยาสมุนไพรทั้งหมด 70 มอโนกราฟ ซึ่งเป็นยาสมุนไพรที่ใช้มาก ในประเทศไทย เช่น ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร บัวบก เป็นต้น เพื่อถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย 

 

นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (Thai Herbal Pharmacopoeia, THP) ประกอบด้วยข้อกำหนดมาตรฐาน ทั้งทางด้านเภสัชเวทและพฤกษศาสตร์ และทางด้านเคมี-ฟิสิกส์ อีกทั้งข้อมูลด้านความปลอดภัย ขนาดการใช้ยาเบื้องต้น และการเก็บรักษาของยาสมุนไพรที่พบในประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการใช้ในการขึ้นทะเบียนตำรับยา การควบคุมคุณภาพยาสมุนไพร และสนับสนุนธุรกิจการส่งออกยาสมุนไพร ให้เป็นที่ยอมรับจากต่างประเทศในด้านมาตรฐาน และเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในการควบคุมคุณภาพยาสมุนไพรในประเทศให้ได้มาตรฐานสากล ป้องกันการปนปลอมยาสมุนไพรที่พบมากในปัจจุบัน ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนมีความเชื่อมั่นในการใช้ยาสมุนไพรไทย รวมทั้งเป็นการลดการนำเข้ายาแผนปัจจุบันจากต่างประเทศ และเพิ่มการพึ่งพาตนเอง ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน และที่สำคัญเป็นการดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ในเรื่องหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตรสืบไป

 

ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (http://www3.dmsc.moph.go.th/post-view/202)

ข่าวสารอื่นๆ
ข่าวประชาสัมพันธ์
เจ้าหน้าที่จากสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กระทรวงยุติธรรม ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ยาเสพติดจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) จากโครงการ “การตรวจพิสูจน์ลักษณะเฉพาะของยาเสพติด (Drug profile) สำหรับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด ของสำนักงาน ป.ป.ส.” และจากโครงการ “เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สำหรับเจ้าหน้าที่ ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รุ่นที่ 2“
8.3.2024
เจ้าหน้าที่จากสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กระทรวงยุติธรรม ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ยาเสพติดจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) จากโครงการ “การตรวจพิสูจน์ลักษณะเฉพาะของยาเสพติด (Drug profile) สำหรับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด ของสำนักงาน ป.ป.ส.” และจากโครงการ “เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สำหรับเจ้าหน้าที่ ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รุ่นที่ 2“
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เจ้าหน้าที่จากสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กระทรวงยุติธรรม ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ยาเสพติดจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) จากโครงการ “การตรวจพิสูจน์ลักษณะเฉพาะของยาเสพติด (Drug profile) สำหรับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด ของสำนักงาน ป.ป.ส.” และจากโครงการ “เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สำหรับเจ้าหน้าที่ ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รุ่นที่ 2“จำนวนรวม 15 คน เข้าศึกษาดูงานที่สำนักยาและวัตถุเสพติด เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวให้มีความรู้ในการวิเคราะห์ลักษณะของตัวยาเสพติดทางกายภาพและทางเคมี การตรวจพิสูจน์ยาเสพติดให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบริหารจัดการยาเสพติดของกลาง การส่งตรวจพิสูจน์ และการเก็บรักษา อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทย และ สปป. ลาว ที่จะได้ร่วมมือกันในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยมีเภสัชกรสิริชัย กระบี่ศรี รองผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด เป็นประธานกล่าวและให้การต้อนรับผู้เข้าศึกษาดูงาน พร้อมด้วยนายอดิศักดิ์ หมันหลิน และเจ้าหน้าที่กลุ่มวัตถุเสพติด ในการนี้นางสาวชญานิศ หิรัญวงษ์ ได้บรรยายเรื่อง “กระบวนการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด” พร้อมนำเสนอบทบาทหน้าที่ในการตรวจพิสูจน์ยาเสพติดของสำนักยาและวัตถุเสพติด ณ ห้องประชุมตำรายาฯ อาคาร 2 ชั้น 4 สำนักยาและวัตถุเสพติด จากนั้นได้นำคณะผู้ดูงานเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวัตถุเสพติด 1-3 เพื่อศึกษาเครื่องมือที่ใช้การตรวจวิเคราะห์ ตลอดจนรับทราบภารกิจของแต่ละห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังได้ดูงานขั้นตอนการตรวจรับของกลาง ณ ห้องรับตัวอย่าง อาคาร 4 ชั้น 1 สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อีกด้วย
ข่าวประชาสัมพันธ์
คณะทำงานด้านวิชาการเกี่ยวกับกฎระเบียบกัญชาของกระทรวงสาธารณสุขภูฏาน บุคลากรจากสถาบันกัญชาทางการแพทย์ และจากสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ในโอกาสเยี่ยมชมและศึกษาการดำเนินงานด้านกัญชาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทางห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยสมุนไพร  สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร และ สำนักยาและวัตถุเสพติด
13.2.2024
คณะทำงานด้านวิชาการเกี่ยวกับกฎระเบียบกัญชาของกระทรวงสาธารณสุขภูฏาน บุคลากรจากสถาบันกัญชาทางการแพทย์ และจากสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ในโอกาสเยี่ยมชมและศึกษาการดำเนินงานด้านกัญชาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทางห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยสมุนไพร สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร และ สำนักยาและวัตถุเสพติด
นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธานกล่าวต้อนรับ คณะทำงานด้านวิชาการเกี่ยวกับกฎระเบียบกัญชาของกระทรวงสาธารณสุขภูฏาน บุคลากรจากสถาบันกัญชาทางการแพทย์ และจากสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ในโอกาสเยี่ยมชมและศึกษาการดำเนินงานด้านกัญชาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทางห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยสมุนไพร สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร และ สำนักยาและวัตถุเสพติด โดยในส่วนของสำนักยาและวัตถุเสพติด เภสัชกรสมศักดิ์ สุนทรพาณิชย์ ผู้อำนวยการฯ พร้อมด้วย เภสัชกรสิริชัย กระบี่ศรี และเภสัชกรหญิงจิรานุช แจ่มทวีกุล รองผู้อำนวยการฯ และเภสัชกรหญิงศศิดา อยู่สุข หัวหน้ากลุ่มวัตถุเสพติด และบุคลากร ให้การต้อนรับพร้อมตอบข้อซักถามในประเด็นที่สงสัยจากการศึกษาดูงาน โดยเภสัชกรหญิงศุภกาน ศรีเพ็ชร์ ได้นำคณะผู้ดูงานเดินชมห้องปฏิบัติการทดสอบกัญชาทางการแพทย์ และนำเสนอกิจกรรมเกี่ยวกับกัญชาในความรับผิดชอบของสำนักยาและวัตถุเสพติด หลายด้าน อาทิ ด้านการวิเคราะห์หาสารสำคัญในผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ ด้านการตรวจสอบลักษณะสำคัญของพืชกัญชา ด้านการผลิตสารมาตรฐานอ้างอิงของ THC และ CBD ด้านการจัดทำวิธีวิเคราะห์ของตำรับยากัญชาที่บรรจุในตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย ด้านการตรวจพิสูจน์กัญชาที่ผิดกฎหมายและด้านการวิเคราะห์ปริมาณ metabolite ของกัญชาในปัสสาวะ เป็นต้น ณ ห้องประชุมตำรายา และห้องปฏิบัติการ อาคาร 2 ชั้น 4 สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567
ข่าวประชาสัมพันธ์
แสดงความยินดีกับผู้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 2565 และ 2566
30.1.2024
แสดงความยินดีกับผู้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 2565 และ 2566
เภสัชกรสมศักดิ์ สุนทรพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด พร้อมด้วย ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ร่วมแสดงความยินดีกับผู้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 2565 จำนวน 3 ท่าน และประจำปี 2566 จำนวน 5 ท่านโดยผู้ที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก ได้แก่ นางอรพิณ ทนันขัติ ผู้ที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย ได้แก่ นางปฏิมา มณีสถิตย์ นางสาวอมร สหเมธาพัฒน์ นายสันติพงศ์ วงศ์เพ็ญทักษ์ นายสิริชัย กระบี่ศรี นางสาวกรวิกา จารุพันธ์ นางสาวบุญฑริกา บุญญาภิวัฒน์ และนางสาวลัดดา พูลสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุม 110 อาคาร14 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ข่าวประชาสัมพันธ์
สำนักยาและวัตถุเสพติดประกาศเจตนารมณ์ ประจำปีงบประมาณ 2567 เภสัชกรสมศักดิ์ สุนทรพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด ได้กล่าวนำประกาศเจตนารมณ์  ในปี 2567 จำนวน 3 ฉบับ
19.12.2023
สำนักยาและวัตถุเสพติดประกาศเจตนารมณ์ ประจำปีงบประมาณ 2567 เภสัชกรสมศักดิ์ สุนทรพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด ได้กล่าวนำประกาศเจตนารมณ์ ในปี 2567 จำนวน 3 ฉบับ
1. ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตและไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy)"กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ใสสะอาด ร่วมต้านทุจริต (DMSc Together Against Corruption)"ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 2. ประกาศเจตนารมณ์การรวมพลังขับเคลื่อนกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 3. ประกาศเจตนารมณ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการแสวงหาประโยชน์ทางเพศการล่วงละเมิด และการคุกคามทางเพศในที่ทำงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พร้อมด้วยข้าราชการ และบุคลากรสำนักยาและวัตถุเสพติด ณ ห้องประชุม 416 อาคาร 2 ชั้น 4 วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2566
ข่าวประชาสัมพันธ์
สำนักยาและวัตถุเสพติด ได้ร่วมกิจกรรมออกร้านงานกาชาดประจำปี 2566 "ฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี รื่นรมย์สุขฤดี ณ ที่แห่งการให้” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง”
13.12.2023
สำนักยาและวัตถุเสพติด ได้ร่วมกิจกรรมออกร้านงานกาชาดประจำปี 2566 "ฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี รื่นรมย์สุขฤดี ณ ที่แห่งการให้” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง”
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ร่วมกิจกรรมออกร้านงานกาชาดประจำปี 2566 "ฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี รื่นรมย์สุขฤดี ณ ที่แห่งการให้” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง” ในวันที่ 11 ธันวาคม 2566 ณ สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร ซึ่งสำนักยาและวัตถุเสพติด โดย ภก.สมศักดิ์ สุนทรพาณิชย์ ผู้อำนวยการ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รวบรวมของรางวัลกิจกรรมตักไข่มหากุศล ภายในงานมีผู้บริหารนพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมผู้อำนวยการส่วนกลาง ได้ให้เกียรติมาเข้าร่วมกิจกรรมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจากหน่วยงานต่างๆ ของกรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์