ข่าวสารประชาสัมพันธ์

GREEN BOOK 2021 สืบค้นได้แล้ววันนี้ ในรูปแบบดิจิตอลเท่านั้น
  • 19.3.2021
  • 15,804
GREEN BOOK 2021 สืบค้นได้แล้ววันนี้ ในรูปแบบดิจิตอลเท่านั้น

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รวบรวมข้อมูลยาและผู้ผลิตจากโครงการประกันคุณภาพยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 – 2563 มาเผยแพร่ในชื่อ GREEN BOOK 2021 โดยยกเลิกการพิมพ์หนังสือ ผู้สนใจสามารถสืบค้นข้อมูลได้จาก Mobile application หรือเว็บไซต์ https://bdn.go.th/th/ebook นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

 

GREEN BOOK 2021 ประกอบด้วยรายการยาชื่อสามัญ 390 รายการ หรือ 2,544 ทะเบียนยา โดยเป็นยาที่ผลิตในประเทศและต่างประเทศ ในจำนวนนี้มียาจากสมุนไพรที่ได้รับการบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้แก่ ขมิ้นชันแคปซูล ฟ้าทะลายโจรแคปซูล เจลพริก เถาวัลย์เปรียงแคปซูล ทั้งนี้เพื่อช่วยส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยในการดูแลรักษาสุขภาพ และช่วยสนับสนุนผู้ผลิตยาสมุนไพรให้สามารถผลิตยาได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีรายการยาชีวเภสัชภัณฑ์ (biopharmaceutical products) เช่น Erythropoietin, Filgrastim, Heparin, Insulin, Somatropin ซึ่งเป็นยาที่ผลิตจากโปรตีน มีขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อนและแตกต่างจากยาที่ผลิตจากสารเคมี ทำให้มีราคาแพงมาก ข้อมูลยาชีวเภสัชภัณฑ์ใน GREEN BOOK 2021 จึงช่วยให้แพทย์และเภสัชกรสามารถเลือกยาจากผู้ผลิตที่เข้ามาตรฐานในราคาที่สมเหตุผล

 

อนึ่ง โครงการประกันคุณภาพยาเริ่มดำเนินการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2545 โดยสุ่มตัวอย่างยาจากโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศมาตรวจสอบคุณภาพด้วยวิธีมาตรฐานสากล เช่น USP BP ปีละ 1 ครั้ง ยาที่เข้ามาตรฐานตามเกณฑ์การคัดเลือกจากโครงการประกันคุณภาพยา กล่าวคือยาต้องผ่านมาตรฐาน 3 รุ่นผลิตขึ้นไป โดยไม่มีรุ่นผลิตใดที่ผิดมาตรฐาน จะได้รับการเผยแพร่ใน GREEN BOOK ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เริ่มเผยแพร่หนังสือ GREEN BOOK เล่มแรก (ชื่อเดิมคือ รายชื่อผลิตภัณฑ์ยาคุณภาพและผู้ผลิต) เมื่อปี พ.ศ. 2548 จากนั้น ได้เผยแพร่หนังสือ GREEN BOOK ปีละ 1 ครั้ง อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ GREEN BOOK 1-12, 2017-2020, ฉบับพิเศษ Antimicrobial drugs 2018, ฉบับพิเศษ Antituberculosis drugs 2018 รวม 18 เล่ม โดยจัดพิมพ์และแจกจ่ายไปยังสถานพยาบาล มหาวิทยาลัย และหน่วยงานสาธารณสุขทั่วประเทศกว่า 70,000 เล่ม

 

ในปี พ.ศ.2560 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้จัดทำระบบสืบค้นข้อมูล GREEN BOOK ซึ่งสามารถใช้งานผ่าน Mobile application “GREEN BOOK DMSC” ทั้งระบบ android และ iOS หรือสืบค้นทางเว็บไซต์ https://bdn.go.th/th/ebook ทั้งนี้ เพื่อลดการใช้กระดาษและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าจำนวนการเข้าใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 20 ครั้งต่อเดือน ในปี พ.ศ. 2560 เป็น 100 ครั้งต่อเดือน ในต้นปี พ.ศ. 2564 ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจของโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ ในปี 2563 - 2564 เรื่องช่องทางการสืบค้น GREEN BOOK ที่โรงพยาบาลเลือกใช้และสะดวกมากที่สุด คือ ทางเว็บไซต์ (43%) Mobile application (27%) และหนังสือ (30%) ดังนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงเห็นควรยกเลิกการจัดพิมพ์หนังสือ GREEN BOOK และสนับสนุนให้ใช้ระบบสืบค้นข้อมูล GREEN BOOK แทน ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ข่าวสารอื่นๆ
ข่าวประชาสัมพันธ์
เจ้าหน้าที่จากสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กระทรวงยุติธรรม ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ยาเสพติดจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) จากโครงการ “การตรวจพิสูจน์ลักษณะเฉพาะของยาเสพติด (Drug profile) สำหรับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด ของสำนักงาน ป.ป.ส.” และจากโครงการ “เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สำหรับเจ้าหน้าที่ ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รุ่นที่ 2“
8.3.2024
เจ้าหน้าที่จากสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กระทรวงยุติธรรม ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ยาเสพติดจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) จากโครงการ “การตรวจพิสูจน์ลักษณะเฉพาะของยาเสพติด (Drug profile) สำหรับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด ของสำนักงาน ป.ป.ส.” และจากโครงการ “เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สำหรับเจ้าหน้าที่ ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รุ่นที่ 2“
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เจ้าหน้าที่จากสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กระทรวงยุติธรรม ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ยาเสพติดจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) จากโครงการ “การตรวจพิสูจน์ลักษณะเฉพาะของยาเสพติด (Drug profile) สำหรับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด ของสำนักงาน ป.ป.ส.” และจากโครงการ “เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สำหรับเจ้าหน้าที่ ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รุ่นที่ 2“จำนวนรวม 15 คน เข้าศึกษาดูงานที่สำนักยาและวัตถุเสพติด เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวให้มีความรู้ในการวิเคราะห์ลักษณะของตัวยาเสพติดทางกายภาพและทางเคมี การตรวจพิสูจน์ยาเสพติดให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบริหารจัดการยาเสพติดของกลาง การส่งตรวจพิสูจน์ และการเก็บรักษา อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทย และ สปป. ลาว ที่จะได้ร่วมมือกันในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยมีเภสัชกรสิริชัย กระบี่ศรี รองผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด เป็นประธานกล่าวและให้การต้อนรับผู้เข้าศึกษาดูงาน พร้อมด้วยนายอดิศักดิ์ หมันหลิน และเจ้าหน้าที่กลุ่มวัตถุเสพติด ในการนี้นางสาวชญานิศ หิรัญวงษ์ ได้บรรยายเรื่อง “กระบวนการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด” พร้อมนำเสนอบทบาทหน้าที่ในการตรวจพิสูจน์ยาเสพติดของสำนักยาและวัตถุเสพติด ณ ห้องประชุมตำรายาฯ อาคาร 2 ชั้น 4 สำนักยาและวัตถุเสพติด จากนั้นได้นำคณะผู้ดูงานเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวัตถุเสพติด 1-3 เพื่อศึกษาเครื่องมือที่ใช้การตรวจวิเคราะห์ ตลอดจนรับทราบภารกิจของแต่ละห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังได้ดูงานขั้นตอนการตรวจรับของกลาง ณ ห้องรับตัวอย่าง อาคาร 4 ชั้น 1 สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อีกด้วย
ข่าวประชาสัมพันธ์
คณะทำงานด้านวิชาการเกี่ยวกับกฎระเบียบกัญชาของกระทรวงสาธารณสุขภูฏาน บุคลากรจากสถาบันกัญชาทางการแพทย์ และจากสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ในโอกาสเยี่ยมชมและศึกษาการดำเนินงานด้านกัญชาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทางห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยสมุนไพร  สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร และ สำนักยาและวัตถุเสพติด
13.2.2024
คณะทำงานด้านวิชาการเกี่ยวกับกฎระเบียบกัญชาของกระทรวงสาธารณสุขภูฏาน บุคลากรจากสถาบันกัญชาทางการแพทย์ และจากสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ในโอกาสเยี่ยมชมและศึกษาการดำเนินงานด้านกัญชาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทางห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยสมุนไพร สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร และ สำนักยาและวัตถุเสพติด
นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธานกล่าวต้อนรับ คณะทำงานด้านวิชาการเกี่ยวกับกฎระเบียบกัญชาของกระทรวงสาธารณสุขภูฏาน บุคลากรจากสถาบันกัญชาทางการแพทย์ และจากสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ในโอกาสเยี่ยมชมและศึกษาการดำเนินงานด้านกัญชาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทางห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยสมุนไพร สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร และ สำนักยาและวัตถุเสพติด โดยในส่วนของสำนักยาและวัตถุเสพติด เภสัชกรสมศักดิ์ สุนทรพาณิชย์ ผู้อำนวยการฯ พร้อมด้วย เภสัชกรสิริชัย กระบี่ศรี และเภสัชกรหญิงจิรานุช แจ่มทวีกุล รองผู้อำนวยการฯ และเภสัชกรหญิงศศิดา อยู่สุข หัวหน้ากลุ่มวัตถุเสพติด และบุคลากร ให้การต้อนรับพร้อมตอบข้อซักถามในประเด็นที่สงสัยจากการศึกษาดูงาน โดยเภสัชกรหญิงศุภกาน ศรีเพ็ชร์ ได้นำคณะผู้ดูงานเดินชมห้องปฏิบัติการทดสอบกัญชาทางการแพทย์ และนำเสนอกิจกรรมเกี่ยวกับกัญชาในความรับผิดชอบของสำนักยาและวัตถุเสพติด หลายด้าน อาทิ ด้านการวิเคราะห์หาสารสำคัญในผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ ด้านการตรวจสอบลักษณะสำคัญของพืชกัญชา ด้านการผลิตสารมาตรฐานอ้างอิงของ THC และ CBD ด้านการจัดทำวิธีวิเคราะห์ของตำรับยากัญชาที่บรรจุในตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย ด้านการตรวจพิสูจน์กัญชาที่ผิดกฎหมายและด้านการวิเคราะห์ปริมาณ metabolite ของกัญชาในปัสสาวะ เป็นต้น ณ ห้องประชุมตำรายา และห้องปฏิบัติการ อาคาร 2 ชั้น 4 สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567
ข่าวประชาสัมพันธ์
แสดงความยินดีกับผู้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 2565 และ 2566
30.1.2024
แสดงความยินดีกับผู้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 2565 และ 2566
เภสัชกรสมศักดิ์ สุนทรพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด พร้อมด้วย ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ร่วมแสดงความยินดีกับผู้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 2565 จำนวน 3 ท่าน และประจำปี 2566 จำนวน 5 ท่านโดยผู้ที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก ได้แก่ นางอรพิณ ทนันขัติ ผู้ที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย ได้แก่ นางปฏิมา มณีสถิตย์ นางสาวอมร สหเมธาพัฒน์ นายสันติพงศ์ วงศ์เพ็ญทักษ์ นายสิริชัย กระบี่ศรี นางสาวกรวิกา จารุพันธ์ นางสาวบุญฑริกา บุญญาภิวัฒน์ และนางสาวลัดดา พูลสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุม 110 อาคาร14 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ข่าวประชาสัมพันธ์
สำนักยาและวัตถุเสพติดประกาศเจตนารมณ์ ประจำปีงบประมาณ 2567 เภสัชกรสมศักดิ์ สุนทรพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด ได้กล่าวนำประกาศเจตนารมณ์  ในปี 2567 จำนวน 3 ฉบับ
19.12.2023
สำนักยาและวัตถุเสพติดประกาศเจตนารมณ์ ประจำปีงบประมาณ 2567 เภสัชกรสมศักดิ์ สุนทรพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด ได้กล่าวนำประกาศเจตนารมณ์ ในปี 2567 จำนวน 3 ฉบับ
1. ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตและไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy)"กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ใสสะอาด ร่วมต้านทุจริต (DMSc Together Against Corruption)"ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 2. ประกาศเจตนารมณ์การรวมพลังขับเคลื่อนกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 3. ประกาศเจตนารมณ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการแสวงหาประโยชน์ทางเพศการล่วงละเมิด และการคุกคามทางเพศในที่ทำงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พร้อมด้วยข้าราชการ และบุคลากรสำนักยาและวัตถุเสพติด ณ ห้องประชุม 416 อาคาร 2 ชั้น 4 วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2566
ข่าวประชาสัมพันธ์
สำนักยาและวัตถุเสพติด ได้ร่วมกิจกรรมออกร้านงานกาชาดประจำปี 2566 "ฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี รื่นรมย์สุขฤดี ณ ที่แห่งการให้” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง”
13.12.2023
สำนักยาและวัตถุเสพติด ได้ร่วมกิจกรรมออกร้านงานกาชาดประจำปี 2566 "ฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี รื่นรมย์สุขฤดี ณ ที่แห่งการให้” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง”
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ร่วมกิจกรรมออกร้านงานกาชาดประจำปี 2566 "ฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี รื่นรมย์สุขฤดี ณ ที่แห่งการให้” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง” ในวันที่ 11 ธันวาคม 2566 ณ สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร ซึ่งสำนักยาและวัตถุเสพติด โดย ภก.สมศักดิ์ สุนทรพาณิชย์ ผู้อำนวยการ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รวบรวมของรางวัลกิจกรรมตักไข่มหากุศล ภายในงานมีผู้บริหารนพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมผู้อำนวยการส่วนกลาง ได้ให้เกียรติมาเข้าร่วมกิจกรรมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจากหน่วยงานต่างๆ ของกรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์