1. เงื่อนไขการให้บริการ
ให้บริการแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อใช้ประกอบการจดแจ้งเครื่องมือแพทย์
2. ขั้นตอนการให้บริการ
3. ตัวอย่างที่รับตรวจ
ชุดทดสอบเบื้องต้นสารเสพติดในปัสสาวะ
4. การส่งตัวอย่าง
4.1 จำนวนตัวอย่าง
► ชุดทดสอบไม่น้อยกว่า 200 ชุด
4.2 เอกสารประกอบการส่งตัวอย่าง
► หนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
► หนังสือนำส่งจากหน่วยงาน
► ผลการทดสอบคุณภาพจากบริษัทผู้ผลิต ในหัวข้อ sensitivity, precision, accuracy, stability, specificity
► เอกสารกำกับชุดทดสอบ
► ตัวอย่างฉลาก
4.3 วิธีการส่งตัวอย่าง
ส่งด้วยตนเองที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อาคาร 4 ชั้น 1 เวลา 8.30 – 16.30 น. ทุกวัน ยกเว้นวันหยุดราชการ
หมายเหตุ ไม่รับตัวอย่างทางไปรษณีย์
4.4 ชำระเงินค่าตรวจวิเคราะห์ (ถ้ามี) และรับหลักฐานการรับตัวอย่าง
► รับเงินสดหรือแคชเชียร์เช็ค
5.การปฏิเสธการรับตัวอย่าง
► รุ่นผลิตที่ระบุในหนังสือนำส่งจากหน่วยงานไม่ตรงกับที่ระบุในหนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
6. ระยะเวลาการให้บริการ
► 20 วันทำการ
7. อัตราค่าบำรุง
► อัตราค่าบำรุงการตรวจวิเคราะห์และให้บริการ อ้างอิงจาก ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 136 ตอนพิเศษ 130ง ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2562 [download]
► อัตราค่าบำรุงการตรวจวิเคราะห์และให้บริการ (ฉบับที่ 2) อ้างอิงจาก ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 137 ตอนพิเศษ 98ง ลงวันที่ 28 เมษายน 2563 [download]
8. การรับผลตรวจวิเคราะห์
ผู้รับบริการสามารถรับผลการตรวจวิเคราะห์ได้ 2 ช่องทาง ได้แก่
► ทางไปรษณีย์
► รับด้วยตนเอง ที่ศูนย์รวมบริการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในวันและเวลาราชการ
9. การให้บริการอื่นๆ เกี่ยวกับรายงานผลวิเคราะห์
ผู้ใช้บริการส่งจดหมายถึงผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด แจ้งวัตถุประสงค์การขอใช้งานบริการที่ต้องการ พร้อมแจ้งเลขที่รายงานและเลขที่ตัวอย่าง สำนักฯ จะพิจารณาและดำเนินการตามความเหมาะสม โดยมีอัตราค่าบำรุง ดังนี้
► การแปลรายงานผลวิเคราะห์ฉบับภาษาอังกฤษ (300 บาท)
► การจัดทำสำเนารายงานผลวิเคราะห์ (300 บาท)
หมายเหตุ ให้บริการเฉพาะหน่วยงานของผู้ส่งตัวอย่างเท่านั้น