เอกสารเผยแพร่

การตรวจพิสูจน์และยืนยันเอกลักษณ์ยานอนหลับชนิดใหม่ในประเทศไทย : ฟีนาซีแพมในของกลาง
  • 4.12.2017
  • 1,911
การตรวจพิสูจน์และยืนยันเอกลักษณ์ยานอนหลับชนิดใหม่ในประเทศไทย : ฟีนาซีแพมในของกลาง
เจ้าของ/ผู้ผลิต เจ้าของ/ผู้ผลิต
ณปภา สิริศุภกฤตกุล, ชมพูนุท นุตสถาปนา, บงกช พันธ์บูรณานนท์
ปีที่ผลิต ปีที่ผลิต
2559
จำนวนหน้า จำนวนหน้า
13 หน้า
รายละเอียดโดยย่อ

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีหน้าที่ในการวิเคราะห์ยาและยาเสพติดเพื่อการควบคุมทางกฎหมาย และเฝ้าระวังการนำไปใช้ในทางที่ผิด พบยาที่นำมาใช้ในทางที่ผิดมากที่สุด คือ ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีนส์ ในปี พ.ศ. 2556 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับของกลางเป็นยาเม็ดกลมแบนสีส้มอ่อน บรรจุแผงแจ้ง “Erimin 5” ปกติประกอบด้วยไนเมตาซีแพม จากผลการตรวจในห้องปฏิบัติการไม่พบไนเมตาซีแพม แต่ตรวจพบฟีนาซีแพม ซึ่งคาดว่าเป็นการตรวจพบครั้งแรกในประเทศไทย เป็นยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีนส์เช่นกัน แต่เป็นชนิดที่ออกฤทธิ์แรงและนาน สามารถหาซื้อทางอินเทอร์เน็ตและมีการนำไปใช้ในทางที่ผิดในยุโรปและสหรัฐอเมริกา พบรายงานการเสียชีวิตหลายราย สำหรับไนเมตาซีแพมเป็นสารควบคุม ขณะที่ฟีนาซีแพม
ยังไม่ได้เป็นสารควบคุมทั้งในอนุสัญญาสหประชาชาติ ประเทศไทย และอีกหลายประเทศ จึงคาดว่าเพื่อหลีกเลี่ยงข้อกฎหมาย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงขั้นตอนและเทคนิคการตรวจพิสูจน์ต่างๆ ที่นำไปสู่การยืนยันเอกลักษณ์ฟีนาซีแพมในของกลาง ซึ่งจากการตรวจยืนยันของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในครั้งนี้เป็นผลให้คณะกรรมการวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เพื่อควบคุมฟีนาซีแพมเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518

https://he02.tci-thaijo.org/index.php/dmsc/article/view/241594