ข่าวสารประชาสัมพันธ์

ผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด ให้ข้อมูลประเด็น "อีทิโซแลม ยานอนหลับสุดอันตราย" ในรายการฮาร์ดคอข่าว ช่อง5HD
  • 15.11.2017
  • 16,577
ผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด ให้ข้อมูลประเด็น "อีทิโซแลม ยานอนหลับสุดอันตราย"  ในรายการฮาร์ดคอข่าว ช่อง5HD

 ภญ.สุรัชนี เศวตศิลา ผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลในประเด็น "อีทิโซแลม ยานอนหลับสุดอันตราย" ในรายการฮาร์ดคอข่าว ช่อง5HD ออกอากาศวันที่ 14 พ.ย.

 

เมื่อช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สำนักยาและวัตถุเสพติด และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา ได้ร่วมกันตรวจวิเคราะห์ของกลางที่ส่งตรวจจากสถานีตำรวจภูธร 7 แห่งในเขตจังหวัดนราธิวาสและยะลารวม 10 ตัวอย่าง  มีลักษณะเป็นยาเม็ดกลมแบนสีส้ม ด้านหนึ่งมีตัวพิมพ์ “5” ส่วนอีกด้านเป็นสัญลักษณ์ “     ” บรรจุในแผงอลูมิเนียมสีเงินพลาสติกใสสีแดงแผงละ 10 เม็ด บนแผงพิมพ์ภาษาอังกฤษระบุผลิตในประเทศญี่ปุ่น (MADE IN JAPAN) และชื่อยา “Erimin5” พบว่า เป็นยาปลอมเนื่องจากตรวจไม่พบส่วนประกอบที่เป็นยาไนเมตาซีแพม (Nimetazepam) ที่ปกติจะพบอยู่ในยา Erimin 5 และจัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 2 มักนำไปใช้ทดแทนยาเสพติด ซึ่งมีการแพร่ระบาดมากในสถานบันเทิง เขตจังหวัดชายแดนภาคใต้  ผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันชนิดของยา โดยใช้เทคนิคต่างๆในห้องปฏิบัติการประกอบกัน ได้แก่ เทคนิคโครมาโทกราฟีแผ่นบาง (TLC) การวัดการดูดกลืนแสงด้วยเครื่องยูวี วิส สเปคโทรโฟโตมิเตอร์ การตรวจด้วยเครื่อง Gas chromatograph-Mass spectrometer และเทคนิค Infrared spectroscopy ทำให้สามารถยืนยันการตรวจของกลางทั้ง 10 ตัวอย่าง พบว่าเป็นยาอีทิโซแลม (Etizolam)ซึ่งเป็นยานอนหลับชนิดใหม่ที่เพิ่งตรวจพบครั้งแรก ในประเทศไทย
 
ยาอีทิโซแลม มีสูตรโครงสร้างทางเคมีและการออกฤทธิ์คล้ายกับยานอนหลับในกลุ่มเบนโซไดอาซีปีนส์ ซึ่งดูดซึมได้ดีผ่านระบบทางเดินอาหารให้ระดับยาในเลือดสูงสุดภายในเวลา 0.5-2 ชั่วโมง  เป็นยากลุ่มกดประสาทที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางมีฤทธิ์ทำให้ง่วงซึม ในบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อิตาลี และ อินเดีย อนุญาตให้ใช้เป็นยาในรูปแบบยาเม็ดขนาดความแรงต่างๆกันสำหรับรักษาโรควิตกกังวลที่มีภาวะซึมเศร้าและอาการนอนไม่หลับ แต่มีอาการไม่พึงประสงค์และอาการข้างเคียง เช่น ทำให้ง่วงซึมระหว่างวัน กล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดจาเลอะเลือน เดินเซ ง่วงนอน อาจมีอาการกล้ามเนื้อรอบดวงตาหดเกร็งตัวในผู้ป่วยที่ใช้ยามากกว่า 1 เดือนจะกดระบบหายใจทำให้เสียชีวิตได้ นอกจากนี้ยังทำให้เสพติดและมีการนำไปใช้ในทางที่ผิดใช้ทดแทนยาอี (Ecstasy) รวมทั้งมีการโฆษณาเป็นสารเคมีสำหรับในใช้ในการศึกษาวิจัย ในบางประเทศสามารถหาซื้อได้ง่ายทางอินเตอร์เน็ตหรือร้านค้าท้องถิ่นในรูปแบบ ยาเม็ด ผง หรือเคลือบซับอยู่บนกระดาษ แต่ในหลายๆประเทศได้ตระหนักถึงอันตรายและแนวโน้มการนำไปใช้ในทางที่ผิดของยาชนิดนี้ จึงกำหนดให้เป็นสารที่ต้องควบคุมตามกฎหมาย เช่น ประเทศ เดนมาร์ก เยอรมนี สหรัฐอเมริกาในบางรัฐ เช่นฟลอริด้า อลาบามา เวอร์จิเนีย เท็กซัส เป็นต้น และล่าสุดมีรายงานข่าวกรณีมีผู้เสียชีวิตจำนวน 6 รายในสกอตแลนด์เมื่อปี พ.ศ.2559 เนื่องจากใช้ยาไดอาซีแพมปลอมที่บางตัวอย่างมีส่วนผสมของยาอีทิโซแลมประเทศสหราชอาณาจักรโดย The Misuse of Drug Act 1971 ได้ประกาศให้เป็นยาควบคุมกลุ่ม C ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับการควบคุมวัตถุออกฤทธิ์ชนิดอัลปราโซแลม (Alprazolam)และไดอาซีแพม (Diazepam) นอกจากนี้ยาดังกล่าวเป็น 1 ใน 16 ชนิด ที่องค์การสหประชาชาติจะมีการทบทวนและพิจารณาการควบคุมทางกฎหมายระดับสากลในการประชุม ECDD (Expert Committee on Drug Dependence) ครั้งที่ 39 ระหว่างวันที่ 16-20 พฤศจิกายน 2560นี้ สำหรับในประเทศไทยเนื่องจากยาดังกล่าวไม่มีจำหน่ายหรือไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนในประเทศจึงยังไม่ถูกควบคุมหรือประกาศให้เป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
ข่าวสารอื่นๆ
ข่าวประชาสัมพันธ์
เจ้าหน้าที่จากสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กระทรวงยุติธรรม ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ยาเสพติดจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) จากโครงการ “การตรวจพิสูจน์ลักษณะเฉพาะของยาเสพติด (Drug profile) สำหรับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด ของสำนักงาน ป.ป.ส.” และจากโครงการ “เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สำหรับเจ้าหน้าที่ ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รุ่นที่ 2“
8.3.2024
เจ้าหน้าที่จากสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กระทรวงยุติธรรม ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ยาเสพติดจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) จากโครงการ “การตรวจพิสูจน์ลักษณะเฉพาะของยาเสพติด (Drug profile) สำหรับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด ของสำนักงาน ป.ป.ส.” และจากโครงการ “เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สำหรับเจ้าหน้าที่ ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รุ่นที่ 2“
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เจ้าหน้าที่จากสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กระทรวงยุติธรรม ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ยาเสพติดจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) จากโครงการ “การตรวจพิสูจน์ลักษณะเฉพาะของยาเสพติด (Drug profile) สำหรับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด ของสำนักงาน ป.ป.ส.” และจากโครงการ “เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สำหรับเจ้าหน้าที่ ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รุ่นที่ 2“จำนวนรวม 15 คน เข้าศึกษาดูงานที่สำนักยาและวัตถุเสพติด เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวให้มีความรู้ในการวิเคราะห์ลักษณะของตัวยาเสพติดทางกายภาพและทางเคมี การตรวจพิสูจน์ยาเสพติดให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบริหารจัดการยาเสพติดของกลาง การส่งตรวจพิสูจน์ และการเก็บรักษา อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทย และ สปป. ลาว ที่จะได้ร่วมมือกันในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยมีเภสัชกรสิริชัย กระบี่ศรี รองผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด เป็นประธานกล่าวและให้การต้อนรับผู้เข้าศึกษาดูงาน พร้อมด้วยนายอดิศักดิ์ หมันหลิน และเจ้าหน้าที่กลุ่มวัตถุเสพติด ในการนี้นางสาวชญานิศ หิรัญวงษ์ ได้บรรยายเรื่อง “กระบวนการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด” พร้อมนำเสนอบทบาทหน้าที่ในการตรวจพิสูจน์ยาเสพติดของสำนักยาและวัตถุเสพติด ณ ห้องประชุมตำรายาฯ อาคาร 2 ชั้น 4 สำนักยาและวัตถุเสพติด จากนั้นได้นำคณะผู้ดูงานเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวัตถุเสพติด 1-3 เพื่อศึกษาเครื่องมือที่ใช้การตรวจวิเคราะห์ ตลอดจนรับทราบภารกิจของแต่ละห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังได้ดูงานขั้นตอนการตรวจรับของกลาง ณ ห้องรับตัวอย่าง อาคาร 4 ชั้น 1 สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อีกด้วย
ข่าวประชาสัมพันธ์
คณะทำงานด้านวิชาการเกี่ยวกับกฎระเบียบกัญชาของกระทรวงสาธารณสุขภูฏาน บุคลากรจากสถาบันกัญชาทางการแพทย์ และจากสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ในโอกาสเยี่ยมชมและศึกษาการดำเนินงานด้านกัญชาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทางห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยสมุนไพร  สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร และ สำนักยาและวัตถุเสพติด
13.2.2024
คณะทำงานด้านวิชาการเกี่ยวกับกฎระเบียบกัญชาของกระทรวงสาธารณสุขภูฏาน บุคลากรจากสถาบันกัญชาทางการแพทย์ และจากสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ในโอกาสเยี่ยมชมและศึกษาการดำเนินงานด้านกัญชาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทางห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยสมุนไพร สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร และ สำนักยาและวัตถุเสพติด
นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธานกล่าวต้อนรับ คณะทำงานด้านวิชาการเกี่ยวกับกฎระเบียบกัญชาของกระทรวงสาธารณสุขภูฏาน บุคลากรจากสถาบันกัญชาทางการแพทย์ และจากสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ในโอกาสเยี่ยมชมและศึกษาการดำเนินงานด้านกัญชาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทางห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยสมุนไพร สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร และ สำนักยาและวัตถุเสพติด โดยในส่วนของสำนักยาและวัตถุเสพติด เภสัชกรสมศักดิ์ สุนทรพาณิชย์ ผู้อำนวยการฯ พร้อมด้วย เภสัชกรสิริชัย กระบี่ศรี และเภสัชกรหญิงจิรานุช แจ่มทวีกุล รองผู้อำนวยการฯ และเภสัชกรหญิงศศิดา อยู่สุข หัวหน้ากลุ่มวัตถุเสพติด และบุคลากร ให้การต้อนรับพร้อมตอบข้อซักถามในประเด็นที่สงสัยจากการศึกษาดูงาน โดยเภสัชกรหญิงศุภกาน ศรีเพ็ชร์ ได้นำคณะผู้ดูงานเดินชมห้องปฏิบัติการทดสอบกัญชาทางการแพทย์ และนำเสนอกิจกรรมเกี่ยวกับกัญชาในความรับผิดชอบของสำนักยาและวัตถุเสพติด หลายด้าน อาทิ ด้านการวิเคราะห์หาสารสำคัญในผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ ด้านการตรวจสอบลักษณะสำคัญของพืชกัญชา ด้านการผลิตสารมาตรฐานอ้างอิงของ THC และ CBD ด้านการจัดทำวิธีวิเคราะห์ของตำรับยากัญชาที่บรรจุในตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย ด้านการตรวจพิสูจน์กัญชาที่ผิดกฎหมายและด้านการวิเคราะห์ปริมาณ metabolite ของกัญชาในปัสสาวะ เป็นต้น ณ ห้องประชุมตำรายา และห้องปฏิบัติการ อาคาร 2 ชั้น 4 สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567
ข่าวประชาสัมพันธ์
แสดงความยินดีกับผู้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 2565 และ 2566
30.1.2024
แสดงความยินดีกับผู้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 2565 และ 2566
เภสัชกรสมศักดิ์ สุนทรพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด พร้อมด้วย ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ร่วมแสดงความยินดีกับผู้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 2565 จำนวน 3 ท่าน และประจำปี 2566 จำนวน 5 ท่านโดยผู้ที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก ได้แก่ นางอรพิณ ทนันขัติ ผู้ที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย ได้แก่ นางปฏิมา มณีสถิตย์ นางสาวอมร สหเมธาพัฒน์ นายสันติพงศ์ วงศ์เพ็ญทักษ์ นายสิริชัย กระบี่ศรี นางสาวกรวิกา จารุพันธ์ นางสาวบุญฑริกา บุญญาภิวัฒน์ และนางสาวลัดดา พูลสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุม 110 อาคาร14 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ข่าวประชาสัมพันธ์
สำนักยาและวัตถุเสพติดประกาศเจตนารมณ์ ประจำปีงบประมาณ 2567 เภสัชกรสมศักดิ์ สุนทรพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด ได้กล่าวนำประกาศเจตนารมณ์  ในปี 2567 จำนวน 3 ฉบับ
19.12.2023
สำนักยาและวัตถุเสพติดประกาศเจตนารมณ์ ประจำปีงบประมาณ 2567 เภสัชกรสมศักดิ์ สุนทรพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด ได้กล่าวนำประกาศเจตนารมณ์ ในปี 2567 จำนวน 3 ฉบับ
1. ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตและไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy)"กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ใสสะอาด ร่วมต้านทุจริต (DMSc Together Against Corruption)"ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 2. ประกาศเจตนารมณ์การรวมพลังขับเคลื่อนกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 3. ประกาศเจตนารมณ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการแสวงหาประโยชน์ทางเพศการล่วงละเมิด และการคุกคามทางเพศในที่ทำงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พร้อมด้วยข้าราชการ และบุคลากรสำนักยาและวัตถุเสพติด ณ ห้องประชุม 416 อาคาร 2 ชั้น 4 วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2566
ข่าวประชาสัมพันธ์
สำนักยาและวัตถุเสพติด ได้ร่วมกิจกรรมออกร้านงานกาชาดประจำปี 2566 "ฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี รื่นรมย์สุขฤดี ณ ที่แห่งการให้” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง”
13.12.2023
สำนักยาและวัตถุเสพติด ได้ร่วมกิจกรรมออกร้านงานกาชาดประจำปี 2566 "ฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี รื่นรมย์สุขฤดี ณ ที่แห่งการให้” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง”
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ร่วมกิจกรรมออกร้านงานกาชาดประจำปี 2566 "ฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี รื่นรมย์สุขฤดี ณ ที่แห่งการให้” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง” ในวันที่ 11 ธันวาคม 2566 ณ สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร ซึ่งสำนักยาและวัตถุเสพติด โดย ภก.สมศักดิ์ สุนทรพาณิชย์ ผู้อำนวยการ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รวบรวมของรางวัลกิจกรรมตักไข่มหากุศล ภายในงานมีผู้บริหารนพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมผู้อำนวยการส่วนกลาง ได้ให้เกียรติมาเข้าร่วมกิจกรรมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจากหน่วยงานต่างๆ ของกรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์