การทดสอบความชำนาญ
สำนักยาและวัตถุเสพติด
Proficiency Testing, Bureau of Drug and Narcotic
icon-user
PT Register

News & KM / ข่าวสารและความรู้

การตรวจรับ การเก็บรักษา และการทำลายของกลางยาเสพติด

การตรวจรับของกลางยาเสพติด

 1.  พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป นำของกลางมาส่งยังสถานตรวจพิสูจน์ยาเสพติด พร้อมแสดงบัตรประจำตัว เว้นแต่

    - ยาเสพติดให้โทษ ประเภท 1 หรือ 2 ที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 20 กรัม หรือ

    - ฝิ่นน้อยกว่า 500 กรัม หรือ

    - ยาเสพติดให้โทษประเภท 5 น้อยกว่า 1 กิโลกรัม หรือ

    - วัตถุออกฤทธิ์น้อยกว่า 5 กรัม หรือ น้อยกว่า 200 เม็ด หรือ

    - สารระเหยน้อยกว่า 1 กิโลกรัม ยาเสพติดให้โทษประเภท 4

พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีจะมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ส่งมอบ หรือจะส่งกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยในจดหมายไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนได้

2.   ของกลางที่นำมาส่ง ต้องบรรจุในภาชนะที่เรียบร้อย แข็งแรง ปิดผนึก ปิดทับด้วยแบบ ป.ป.ส.6-31

3.   คณะกรรมการตรวจรับประกอบด้วย นักวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 2 คน ในกรณีที่จำเป็น ผู้ตรวจพิสูจน์หนึ่งคน อาจดำเนินการตรวจรับร่วมกับเจ้าหน้าที่อื่นที่เป็นนายตำรวจชั้น

      สัญญาบัตรหรือข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป

4.   การตรวจสอบของกลาง ตรวจสอบต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้นำส่ง แล้วบันทึกรายละเอียดต่างๆทั้งหมดในใบตรวจรับของกลางยาเสพติด พร้อมทั้งลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน

 

การเก็บรักษาของกลางยาเสพติด

          ยาเสพติดให้โทษของกลางที่ได้ตรวจพิสูจน์แล้วว่า เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 สถานตรวจพิสูจน์จะนำของกลางส่วนที่เหลือจากการตรวจพิสูจน์ มาส่งมอบเพื่อเก็บรักษาที่กระทรวงสาธารณสุข (ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจับ ยึด และตรวจพิสูจน์ยาเสพติดพ.ศ.๒๕๓๗ ) โดยมีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นผู้รับมอบและเก็บรักษาไว้ที่คลังยาเสพติดให้โทษของกลาง 

 

                                       

                                       (ภาพจาก http://news.voicetv.co.th/thailand/73022.html)

 

การทำลายของกลางยาเสพติด

          ของกลางยาเสพติดที่เก็บรักษาไว้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เดิมต้องเก็บรักษาไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดแล้วจึงนำไปเผาทำลายได้ แต่ปัจจุบันยาเสพติดที่เก็บในคลังแต่ละปีมีปริมาณมากขึ้น รัฐบาล จึงได้มีการปรับกฎหมายให้เอื้อต่อการปฏิบัติ คือ ให้สามารถเผาทำลายยาเสพติดของกลางได้เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีโดยไม่ต้องรอคดีถึงที่สุด จึงทำให้มีการเผายาเสพติดได้เร็วขึ้นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สำหรับคดียาเสพติดที่ผ่านการพิจารณาตามกระบวนการยุติธรรม และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ริบยาเสพติดให้โทษของกลางในคดี กระทรวงสาธารณสุขสามารถนำยาเสพติดดังกล่าวไปเผาทำลายต่อหน้าสาธารณชน มีสื่อมวลชนเป็นสักขีพยานในการเผาทำลายและเพื่อเป็นการป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อมจึงกำหนดให้เผาในระบบเตาเผาขยะ ณ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ซึ่งมีระบบควบคุมอากาศและการกำจัดอย่างมีประสิทธิภาพ

 

  

(ภาพจาก http://www.nationtv.tv/main/content/cri  me/378437084/ และhttp://www.manager.co.th/local/viewnews.aspx?NewsID=9580000072363)

 

ภ.ญ. วลัยลักษณ์ เมธาภัทร

ธันวาคม 2559