การทดสอบความชำนาญ
สำนักยาและวัตถุเสพติด
Proficiency Testing, Bureau of Drug and Narcotic
icon-user
PT Register

About Us / เกี่ยวกับเรา

Our History / ประวัติของเรา

Bureau of Drug and Narcotic, ISO/IEC 17043: 2010 accredited,is the national proficiency testing provider in pharmaceuticals and narcotics.

สำนักยาและวัตถุเสพติด มีภารกิจตามกฎหมายคือเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงระดับชาติ และมีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการ ตรวจวิเคราะห์ภายในประเทศ โดยเฉพาะห้องปฏิบัติการที่ต้องการขอรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตามระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025 : 2005 ที่มีข้อกำหนดให้ ต้องเข้าร่วมการทดสอบความชำนาญ ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานที่ให้บริการทดสอบความชำนาญด้านยาและวัตถุเสพติด จึงต้องเข้าร่วมกิจกรรมจากต่าง ประเทศที่มีค่าใช้จ่ายสูง และเป็นอุปสรรคสำหรับห้องปฏิบัติการจากภาครัฐหรือหน่วยงานขนาดเล็กที่ต้องการประเมินตนเอง และเพื่อประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการ

สำนักยาและวัตถุเสพติดเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงริเริ่มเป็นผู้ให้บริการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการด้านตรวจวิเคราะห์ได้เข้าร่วมกิจกรรมใช้ประเมินความสามาร ถ สร้างการยอมรับ และเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ โดยเปิดให้บริการทดสอบความชำนาญ จำนวน 3 แผนงาน คือ การทดสอบ ความชำนาญห้องปฏิบัติการทางด้านยา ด้านสารเสพติดในปัสสาวะ และยาเสพติดในของกลาง และเมื่อปีพ.ศ. 2559 ทั้ง 3 แผนงานได้การรับรองความสามารถผู้จัด โปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ หรือ PT provider ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17043 : 2010 ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งภาครัฐและเอกชน รวม 3 แผนงาน เป็นจำนวนหนึ่งพันกว่าหน่วยงาน สำหรับแผนงานด้านยาได้ให้บริการแก่สมาชิกในภูมิภาคอาเซียนด้วยแล้ว และมีโครงการขยายขอบข่ายทุกแผนงานในอนาคต เพื่อมุ่งสู่ การเป็นผู้นำด้านห้องปฏิบัติการมาตรฐานในภูมิภาคอาเซียน

ck_icon_about_01
ด้านยา

ในอดีตห้องปฏิบัติการควบคุมคุณภาพยาอาเซียนเคยประสบปัญหาเรื่องหน่วยงานที่ให้การรับรองตามระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025 : 2005 ของแต่ละประเทศยังมี มาตรฐานที่ไม่ทัดเทียมกัน ทำให้ห้องปฏิบัติการที่ถึงแม้ได้การรับรองแล้ว แต่ยังมีคุณภาพของผลการวิเคราะห์ที่ไม่สอดคล้องกัน การทดสอบความชำนาญสามารถใช้เป็น กิจกรรมหนึ่งเพื่อบ่งชี้ความสามารถ และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการได้ แต่ในขณะนั้นยังไม่มีหน่วยงานใดในกลุ่มประเทศอาเซียนที่เป็นศูนย์กลางเพื่อ จัดการทดสอบ ซึ่งสำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เล็งเห็นโอกาสเพื่อพัฒนาศักยภาพ และความเป็นผู้นำในภูมิภาค จึงได้อาสาสมัครเป็นผู้จัดในนามของ ประเทศไทย

ck_img_about_01

ปี พ.ศ. 2547 สำนักยาและวัตถุเสพติดเข้าร่วมโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสหภาพยุโรปและอาเซียน ด้านมาตรฐานคุณภาพและการรับรอง ในสาขา Pharmacy หัวข้อ Component ที่ 3 เรื่อง Strengthening Quality Control Laboratories ซึ่งผู้แทนของสำนักยาและวัตถุเสพติดได้รับการฝึกอบรมและศึกษาดูงานจากหน่วยงาน European Directorate for the Quality of Medicines & HealthCare หรือ EDQM เรื่อง Organization of ASEAN Proficiency Tests ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เพื่อเรียนรู้และเตรียมความพร้อมการเป็นผู้จัดการ ทดสอบความชำนาญภายในประเทศอาเซียน ต่อมาในปีพ.ศ. 2549-2550 สำนักยาและวัตถุเสพติดได้เริ่มจัดการ ทดสอบความชำนาญในกลุ่มประเทศอาเซียนขึ้นภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญจาก EDQM โดยรับผิดชอบในการ เตรียมตัวอย่างในหัวข้อการวัดควาเป็นกรด-ด่าง สำหรับการให้บริการทดสอบความชำนาญของห้องปฏิบัติการควบ คุมคุณภาพยาภายในประเทศ เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2550 เริ่มแรกสมาชิกคือห้องปฏิบัติการของศูนย์วิทยาศาสตร์การ แพทย์ในเขตภูมิภาค ซึ่งเป็นหน่วยงานภายในของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ได้ขยายบริการ ไปยังห้องปฏิบัติการภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน และดำเนินการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ขณะนี้มีสมาชิกทั้งภายในและ ภายนอกประเทศรวมจำนวนกว่า 100 หน่วยงาน

ck_icon_about_02
ด้านยาเสพติดในของกลาง
ck_img_about_02

เริ่มต้นขึ้นในปีพ.ศ. 2546 เนื่องด้วยยังไม่มีหน่วยงานใดในประเทศไทยเป็นศูนย์กลางจัดการทดสอบความชำนาญด้าน ยาเสพติดในของกลาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ห้องปฏิบัติการมีการพัฒนาทักษะความชำนาญในการ ตรวจพิสูจน์และดำเนินการตามระบบคุณภาพให้เป็นมาตรฐานไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งเสริมสร้างความเชื่อมั่นของห้อง ปฏิบัติการในการรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ซึ่งจะนำไปใช้เป็นหลักฐานสำคัญทางอรรถคดี เป็นการสร้างเครือข่ายสถาน ตรวจพิสูจน์เพื่อสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศ โดยสมาชิกประกอบด้วยศูนย์วิทยาศาสตร์ การแพทย์ในเขตภูมิภาคซึ่งเป็นหน่วยงานภายในของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามยาเสพติด สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น ในส่วนสำนักยาและ วัตถุเสพติดเองได้เข้าร่วมการทดสอบความชำนาญด้านยาเสพติดกับหน่วยงาน The United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC) มากว่า 10 ปีอย่างต่อเนื่อง

ck_icon_about_03
ด้านสารเสพติดในปัสสาวะ
ck_img_about_03

เริ่มต้นขึ้นในปีพ.ศ. 2546 เช่นเดียวกับการจัดทดสอบความชำนาญด้านยาเสพติดในของกลาง โดยมีวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกัน แต่กลุ่มเป้าหมายคือห้องปฏิบัติการที่มีหน้าที่ตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ เช่น ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ สถานพยาบาลของรัฐ และเอกชน กรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ปัจจุบันมีแผนการ ทดสอบความชำนาญ 2 ระดับ คือ การตรวจเบื้องต้นสารเสพติดในปัสสาวะสำหรับห้องปฏิบัติการที่มีหน้าที่ตรวจคัดกรองชนิดสาร โดยขอบข่ายของชนิดสารเสพติดเป้าหมาย ได้แก่ Methamphetamine, Opiates, MDMA, Metabolite of cannabis (THCA), Metabolite of Cocaine และการตรวจยืนยันสารเสพติดในปัสสาวะ สำหรับสมาชิกที่สามารถตรวจแยกชนิดสารหรือตรวจเชิงปริมาณได้